by www.zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ของสุมาลี หมวดไธสง



     การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วนประกอบด้วยความคิดรวมยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกต การทดลองแ ละการถามคำถามประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยได้รับจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็ก ถ้าเด็กรู้จักสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว เข้าใจสิ่งที่เขาสงสัย เข้าใจโลกที่เขาอยู่และสามารถพัฒนาการคิดการรู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ได้
สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีจุด มุ่ง หมายเพื่อ ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการใช้วิ ธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครูและผู้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยรวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สรุปได้ว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ นั้นมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมากการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นทักษะการคิดที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็กและให้คงโตจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตนเอง และเกิดความสำเร็จในการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ที่ดีต้องเป็นการเรียนรู้การรู้จักคิด โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นในหลักสูตรปกติ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดเป็น เรียนรู้เป็น สามารถคาดคะเน ใช้เหตุผล ตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่างๆได้

                                                                                                    

ครั้งที่17

                                                                                        วันจันทร์ที่23 กันยายน 2556

                                                               บันทึกการเรียน

อาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่ทำแกงจืดออกมาสาธิตการสอนทำแกงจืด  โดยให้เพื่อนที่เหลือเป็นเด็กคอยตอบคำถามเวลาที่ครูสอนทำแกงจืด


เครื่องปรุงเต้าหู้หลอด
หมูสับปรุงรส
ซุปไก่ก้อน 

ซีอิ้วขาว
น้ำตาลทราย
ต้นหอม
ผักชี
น้ำเปล่า

เครื่องปรุงหมูสับปรุงรสหมูสับ
น้ำมันหอย
ซีอิ้วขาว
น้ำตาลทราย 

พริกไทยป่น 









วิธีทำ
1. นำหมูสับมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ คือน้ำมันหอย ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น คลุกเคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากับหมูสับ พักไว้

2. ตัดรากต้นหอมและผักชี นำไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นท่อนๆ จากนั้น นำเต้าหู้หลอดมาหั่นเป็นแว่นขนาดหนาประมาณ 1.5 ซม. 
3. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ ใส่ซุปไก่ก้อนลงไป พอน้ำเดือดแล้วให้นำเต้าหู้หลอดที่หั่นไว้ใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดอีกครั้งจึงตักหมูสับที่ปรุงไว้เป็นก้อนเล็กๆ ทะยอยใส่ลงไป 
4. ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) และน้ำตาลทราย จากนั้นก็นำต้นหอมและผักชีที่หั่นเป็นท่อนแล้วใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดอีกครั้งแล้วปิดเตาทันที
5. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยพริกไทยป่นเล็กน้อย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ














แต่ละขั้นตอนคุณครูต้องคอยตั้งคำถามกับเด็กให้เด็กได้สังเกตว่าเมื่อทำอย่างนี้จะเป็นอย่างไร มันเกิดอะไรขึ้น สีของมันเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร และควรให้เด็กได้ลงมือทำเองโดยมีคุณครูดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยค่ะ


แกงจืดที่นักศึกษาช่วยกันทำออกมา หน้าตาน่ากินเชียวค่ะ

















ครั้งที่16

                                                                                       วันจันทร์ที่16 กันยายน 2556

                                                              บันทึกการเรียน

 นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  โดยให้นักศึกษาช่วยกันเขียนMy Mappingเกี่ยวกับอาหารเด็กปฐมวัย และเลือกเมนูอาหารที่ต้องการจะทำขึ้นมาหนึ่งอย่าง  พร้อมบอกอุปกรณ์  วัตถุดิบที่ใช้  ประโยชน์ของอาหารชนิดนั้น   รวมไปถึงขั้นตอนของการทำอาหาร เมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนเสร็จ  ก็ได้ออกไปนำเสนอ  และร่วมกันเลือกว่าจะใช้เมนูไหนสาธิตสอนเด็ก  สรุปออกมาว่าจะร่วมกัน  ทำแกงจืด เนื่องจากเป็นเมนูที่ทำง่าย และนักศึกษาทุกคนก็คุ้นเคยกับอาหารชนิดนี้ดี    

เครื่องปรุง-วัตถุดิบที่ต้องเตรียมมาทำในสัปดาห์ต่อไป

 
เครื่องปรุงเต้าหู้หลอด 
หมูสับปรุงรส
ซุปไก่ก้อน

ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา)
น้ำตาลทราย
ต้นหอม
ผักชี
น้ำเปล่า 

เครื่องปรุงหมูสับปรุงรสหมูสับ
น้ำมันหอย
ซีอิ้วขาว
น้ำตาลทราย
พริกไทยป่น




ครั้งที่15

                                                                        วันอาทิตย์  ที่15 กันยายน (เรียนชดเชย)

                                                         บันทึกการเรียน

นักศึกษานำเสนองานสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
-ดอกไม้บาน
วิธีการทดลองทำดอกไม้บาน
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.ดินสอ สีไม้
3.กรรไกร
4.อ่างน้ำ

ขั้นตอนการทดลอง
1.วาดภาพดอกไม้ระบายสีให้สวยงาม
2.ตัดรูปดอกไม้ที่วาดระบายสีเสร็จแล้ว
3.พับกลีบดอกไม้เข้าตรงกลางให้ดอกไม้ตูม
4.วางดอกไม้ที่พับลงบนผิวน้ำ 
5.สังเกตว่าดอกไม้บานออกหรือไม่ และจดบันทึก สรุปผล

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์: การทดลองนี้เกิดจากการที่น้ำดูดซึมและแพร่กระจายเข้าไปในกระดาษ จึงเป็นที่มาของการลำเลียงน้ำได้ ส่งผลให้กระดาษดอกไม้ที่พับอ่อนตัวและบานออกมา



- ข้าวยกได้

อุปกรณ์

1.ขวดน้ำพลาสติก
2.ข้าว
3.ตะเกียบ/ดินสอ

ขั้นตอนการทดลอง
1.เทข้าวลงในขวด
2.อัดให้แน่น
3.ลองยกตะเกียบที่อัดแน่นไปด้วยข้าวไว้ในขวดดู
4.สังเกตว่ายกได้หรือไม่ และจดบันทึก สรุปผล

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์: ถึงแม้ข้าวจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อข้าวสารถูกอัดแน่นลงในขวด แรงเสียดทานระหว่างข้าวสารกับตะเกียบจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะเหตุนี้เมื่อดึงกะเกียบขึ้น ตะเกียบจะไม่หลุดออกมาแต่จะดึงขวดขึ้นมาด้วย

DSC04724