by www.zalim-code.com

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่4



                                         

                                                                                        วันจันทร์ที่8 ก.ค. 2556      

                                                     บันทึกการเรียน


-อาจารย์ให้ทำเทคนิคภาพเคลื่อนไหวโดยพับกระดาษแบ่งให้ได้8แผ่นเล็กๆ แล้วนำมาตัดออก และวาดรูปลงไปในแผ่นกระดาษนั้น ให้มีลักษณะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ โดยภาพที่ดิฉันได้วาดนั้นเป็นภาพของเด็กผู้หญิง และมีเม็ดฝนกำลังตกลงมา แผ่นสุดท้ายก็มีเด็กผู้ชายมากางร่มให้ด้วยคะ

นี่เป็นภาพนิ่งทั้ง8ภาพที่ดิฉันวาด>>
  
ภาพที่1
  

ภาพที่2


ภาพที่3
  

ภาพที่4


ภาพที่5
  

ภาพที่6


 ภาพที่7


 ภาพที่8


                     และนี่เป็นภาพที่ดิฉันนำมาตัดแต่งรวมกันให้เป็นภาพเคลื่อนไหวค่ะ


*หลักการที่ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว

การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา
ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่นๆ

ตัวอย่าง

แอนิเมชันแสดง 6 เฟรมต่อเนื่องกัน
เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว






ครั้งที่3



                                          

                                                                                        วันจันทร์ที่1 ก.ค. 2556      

                                                     บันทึกการเรียน


-อาจารย์เปิดวีดีทัศน์เรื่อง "ความลับของแสง" ให้นักศึกษาได้ดูเป็นการเรียนรู้


 

My Mappingเรื่องของวิทยาศาสตร์







ครั้งที่2


                                            

                                                                                        วันจันทร์ที่24 มิ.ย. 2556      

                                                     บันทึกการเรียน


-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มอ่านสรุปบทความที่อาจารย์มอบหมายมาให้ดังต่อไปนี้

1)ความหมายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความ รู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการ เจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วง ปฐมวัย

2)ความหมายวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากภาษาลาตินว่า Scientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างมากที่ใช้ในอดีต (สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ, 2542 : 2-3) เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการค้นพบความรู้มากมายเหมือนในปัจจุบัน  ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีความหมายในลักษณะที่ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของมนุษย์  ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้มากขึ้นและได้พิสูจน์ความรู้ต่างๆ   สิ่งใดเป็นจริงจะได้รับการยอมรับ ส่วนสิ่งใดไม่จริงก็จะถูกปฏิเสธ  ทำให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ภพ เลาหไพบูลย์ (2540: 2)  ได้สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
           
สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ (2542 : 2-3) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง เป็นความจริง ซึ่งความรู้ดังกล่าวได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือจากการทดลอง โดยเริ่มต้นจากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลองอย่างมีแบบแผน แล้วจึงสรุปเป็นทฤษฏีหรือกฎขึ้น แล้วนำแล้วนำทฤษฏีหรือกฎที่ได้ไปใช้ศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ
             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”
             โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”


3)กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์    
          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
          3) จิตวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
  

               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา 
  
               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ
  

               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
  

               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
 


4)แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

 กล่าวโดยสรุป วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความ รู้ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นอาศัยการสังเกต เป็นพื้นฐาน

5)อุปสรรคของการเรียนรู้

ครูผู้สอนไม่มีความชำนาญในการสอน และขาดแคลนอุปกรณ์และสื่อในการเรียนการสอน รองลงมา คือ ครูผู้สอนไม่ทุ่มเทในการสอน ขาดแคลนห้องทดลองวิทยาศาสตร์ผู้บริหารไม่สนับสนุนการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอย่างจริงจัง และข้อจำกัดของเนื้อหาหลักสูตร

-อาจารย์ให้ดูวิดีโอเรื่องเกี่ยวกับน้ำ และสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

 

 

                                                     วิดีโอมหัศจรรย์ของน้ำ