by www.zalim-code.com

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14

                                                                                          วันจันทร์ ที่9 กันยายยน 2556

                                                            บันทึกการเรียน

*งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปงานสัมนาที่ต่างจังหวัด 
นัดเรียนชดเชยอีกในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556


[ศึกษาความรู้เพิ่มเติม]


ความลับของสี



chromotography

สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ

สิ่งที่ต้องใช้

  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
  • แก้วใส่น้ำ

วิธีทดลอง

    • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
    • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
    • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
    • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
    • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป

chromotographyเพราะอะไรกันนะ

                สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
    1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน

    2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน

สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น

ครั้งที่13

                                                                                              วันจันทร์ที่2 กันยายน 2556

                                                            บันทึกการเรียน

พรีเซนต์งานกลุ่มทำสื่อเข้ามุม เรื่อง "กระดาษเปลี่ยนสี"

อุปกรณ์ 
              1. กระดาษแข็ง
              2. กระดาษแก้ว 3 สี
              3. กาว
              4. กรรไกร
              5. เชื่อก

วิธีทำ 
         1. นำกระดาษแข็มมาตัดวัดขนาดแล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วตัดช่องตรงกลางออกให้เป็เหมือนกรอบรูป


     
         2.  ติดกระดาษแก้วลงไปในกรอบ ( ทำแบบนี้เหมือนกันทั้ง 3 สี )
               

         3. นำมาตกแต่งให้สวยงาม
               


วิธีเล่น 
           1. นำกระดาษแก้วสีแรกมาวางซ้อนกับสีที่สอง
           2.  นำกระดาษแก้วยกขึ้นแล้วมองผ่านกระดาษแก้ว จะเห็นว่าจะเห็นอีกสีเกิดขึ้นมา

หลักการ  
              เกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านแม่สีทั้ง 3  สี ที่อยู่ในรูปขอแสงรังสี จึงทำให้เราสามารถมองเห็นสีอีกสีที่เกิดขึ้น
 
สมาชิกในกลุ่ม
-นางสาวศศิธร แสงเภา
-นางสาวดาราวรรณ น้อมกลาง
-นางสาวนพมาศ คำมั่น
 

ครั้งที่12

                                                                                           วันจันทร์ ที่26 สิงหาคม 2556

                                                            บันทึกการเรียน

นักศึกษาทุกกลุ่มเตรียมประดิฐษ์สื่อเข้ามุม กลุ่มดิฉันวางแผนจะประดิฐษ์ "กระดาษเปลี่ยนสี" และแบ่งหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายช่วยกันทำ มีดังนี้

-ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์การทำ

-ฝ่ายออกแบบ

-ฝ่ายจัดทำ

เมื่อทำสื่อเสร็จสิ้นแล้วก็เตรียมตัวพรีเซนต์งานในสัปดาห์ถัดไป

ครั้งที่11

                                                                                         วันจันทร์ที่19 สิงหาคม 2556

                                                          บันทึกการเรียน

พรีเซนต์งานทดลองแบบกลุ่ม เรื่อง "นักประดิฐษ์รุ้ง"



นักประดิษฐ์รุ้ง
อุปกรณ์การประดิษฐ์รุ้ง
-ลวด
-น้ำยาเคลือบเล็บ
-อ่างน้ำ
ขั้นตอนการทดลอง
1.ดัดลวดให้เป็นรูปทรงตามต้องการ และทำที่จับให้ถนัดมือ
2.หาอ่างขนาดพอสมควร ใส่น้ำสะอาด

3.หยดน้ำยาเคลือบเล็บลงไปบนผิวหน้าน้ำ 1 หยด ในขณะที่น้ำยาฯ กำลังแห้ง สารทำละลายจะระเหยออกจากน้ำยาฯ อย่างรวดเร็ว ทำให้ความหนาของฟิล์มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สีรุ้งที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่นกัน จนกระทั่งหยุดการเปลี่ยนแปลงเมื่อสารทำละลายระเหยจนหมด และฟิล์มแห้งดีแล้ว

4.ใช้ลวดที่ดัด ตักฟิล์มขึ้นมาจากผิวน้ำ ฟิล์มจะติดอยู่กับลวดเพราะความเหนียว
เวลาตัก ให้ค่อยๆ ตักช้าๆ เพราะฟิล์มจะบางและขาดได้ง่ายมาก

5.ถ้าตักแล้วขาด ก็ดึงฟิล์มทิ้งไป ทำความสะอาดผิวหน้าน้ำ (หรือจะเปลี่ยนน้ำก็ได้) แล้วเริ่มต้นใหม่ครับ



เมื่อช้อนฟิล์มได้แล้ว ให้งอด้ามจับตรงปลาย แล้วไปแขวนห้อยไว้กับเชือก เพื่อให้แห้ง แล้วนำมาชื่นชมทีหลัง (หรือจะชื่นชมทันทีก็ได้)


ฟิล์มที่เกิดขึ้น จะมีความบางมาก และขาดได้ง่าย น้องๆ บางคน อาจทดลองตักหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ได้ฟิล์มที่หนาขึ้น แต่ก็จะทำให้สีสันที่ได้ลดลงไปด้วย เนื่องจากฟิล์มที่หนาเกินไปไม่สามารถหักเหและสะท้อนแสง ได้เหมือนกับฟิล์มบางๆ




แนวคิด
สีรุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไรบนแผ่นฟิล์มบางๆ?  สีรุ้งที่เราเห็นจากฟิล์มบางๆ เช่น น้ำมัน หรือ ฟองสบู่ เป็นผลของ การแทรกสอดแบบเสริม และ การแทรกสอดแบบหักล้าง ของแสงสะท้อนจากผิวด้านบนของน้ำมัน กับแสงที่สะท้อนจากผิวด้านล่างของน้ำมัน เนื่องจากฟิล์มของน้ำมัน มีความหนาไม่เท่ากัน ผลการสะท้อนจึงต่างกันด้วย ส่งผลให้สีที่ได้จากการแทรกสอดต่างกัน
การที่ฟิล์มจะให้สีรุ้งสวยงามออกมาได้นั้น แสดงว่าฟิล์มนั้นๆ มีความหนาใกล้เคียงกับความยาวคลื่นของแสง ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดในฟิล์มบาง

สมาชิกในกลุ่ม
-นางสาวศศิธร แสงเภา
-นางสาวดาราวรรณ  น้อมกลาง
-นางสาวนพมาศ  คำมั่น


ครั้งที่10

                                                                                      วันจันทร์ที่18 สิงหาคม 2556

                                                        บันทึกการเรียน

นำเสนอสื่อของเล่น เรื่อง "แม่เหล็กภาพเคลื่อนไหว



ของเล่น

แม่เหล็กภาพเคลื่อนไหว

อุปกรณ์

-สีไม้                           -กรรไกร

-กระดาษ                           -ลวดหนีบกระดาษ

-แม่เหล็ก

วิธีทำ

1.วาดภาพระบายสีสำหรับทำฉากของตัวละครตามใจชอบ



2.วาดภาพระบายสีตัวละครและตัดตัวละครออกมาจากกระดาษ



3.นำลวดหนีบกระดาษมาหนีบตัวละครให้มั่นคง ไม่หลุด




4.นำแม่เหล็กไปทาบด้านหลังของกระดาษฉาก วางตัวละครที่มีคลิปหนีบกระดาษให้ตรงกันกับแม่เหล็ก



5.ลากแม่เหล็กที่อยู่ด้านหลัง  จะทำให้ตัวละครขยับตาม





คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

สนามแม่เหล็กสามารถส่งผ่านกระดาษได้อย่างง่ายดาย เมื่อวางแม่เหล็กไว้ข้างหลังภาพจะดูดกับลวดเสียบกระดาษ แรงดึงดูดนั้นมีมากพอที่จะทำให้ลวดเสียบกระดาษนั้นติดอยู่กับภาพได้





ครั้งที่9

                                                                                         วันจันทร์ที่12 สิงหาคม 2556

                                                          บันทึกการเรียน

                                                           วันแม่แห่งชาติ


 แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาไว้เมื่อ วันที่ 15 เมษายน ของทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา

จากนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้ การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป และมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ ประกวดเรียงความวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของ รัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


ดอกมะลิ
ดอกมะลิ ดอกไม้ประจำวันแม่
ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม

พันธุ์ดอกมะลิ


    • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว
    • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
    • มะลิถอด ลักษณะ โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น
    • มะลิซ้อน ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น
    • มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ

เพลงที่ใช้ในวันเเม่

ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล

แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนมเลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย ( ซ้ำ *, ** )

ครั้งที่8

                                                                                              วันจันทร์ที่5 สิงหาคม2556

                                                          บันทึกการเรียน

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค

ครั้งที่7

                                                                                          วันจันทร์ที่29 กรกฎาคม 2556

                                                     บันทึกการเรียน


*อ่านและทบทวนหนังสือ เพื่อเตรียมสอบกลางภาคในวันอังคารที่30 กรกฎาคม 2556

                           วิธี/หลักการอ่านหนังสือฝึกจำ+ทำข้อสอบให้ได้

การอ่านอย่างเป็นระบบจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ

1. อ่านสารบัญ ดูและศึกษาสารบัญให้ละเอียด เนื่องจากสารบัญคือ ตัวแทนของเนื้อหาในหนังสือทั้งเล่ม

2. บันทึกสารบัญไว้ในสมุด แยกตามบท

3. จากสารบัญ เราจะได้ หัวข้อหลักของแต่ละบท

4. ต่อมาให้ดูหัวข้อรองในสารบัญ ถ้าไม่มีให้พลิกดูในบทนั้นๆ ( ถ้าเป็นtext ต่างประเทศ จะมีหัวข้อรองให้เสมอ)

5. จดบันทึกหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย ลงในสมุดให้เป็นระบบ

6. สร้างภาพการ์ตูน หรือวาดภาพอย่างง่ายๆ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของ หัวข้อหลัก ในแต่ละบท
ให้ครบทุกหัวข้อ

7. หลังจากนั้น ให้นำหัวข้อหลัก หัวข้อที่หนึ่ง มาเขียนเป็นผัง ที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อรองทุกหัวข้อ แล้ววาดภาพ อย่างง่ายประกอบ ต่อมาให้ทำเช่นเดียวกันในหัวข้อที่สองและหัวข้ออื่นๆ ต่อไปจนครบ

8. นำหัวข้อรองมาเขียนเป็นผังที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อย่อยทุกหัวข้อ แล้ววาดภาพอย่างง่ายประกอบ

9. นำภาพที่วาดแล้ว มาผูกเป็นเรื่องราวง่ายๆ ที่จะทำให้จำได้ง่าย

10. ฝึกทำบ่อยๆ อีกไม่นานจะทำได้ง่ายขึ้น

11. ต่อไปหลังจากได้หัวข้อ หลัก---รอง---ย่อย แล้ว ให้อ่านเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วสรุปใจความสำคัญมาเพียงหนึ่งประโยค หรืออย่างมากไม่เกินสามประโยค นำประโยคที่สรุปได้นั้นมาเขียน
อธิบายเสริมในหัวข้อแต่ละหัวข้อที่เราได้ทำมา แล้วในข้อ 7. ข้อ 8.

12. หลังจากทำได้ครบแล้ว พยายามนึกถึงภาพและความสัมพันธ์ที่ได้สร้างไว้แล้ว ถ้ายากเกินไป ให้แก้
ไขให้ง่ายลง กระทั่งจำได้ดี ฝึกจำบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงเข้านอน ให้ลองหลับตานึกถึงภาพและเรื่องราวที่ได้ผูกไว้