by www.zalim-code.com

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่11

                                                                                         วันจันทร์ที่19 สิงหาคม 2556

                                                          บันทึกการเรียน

พรีเซนต์งานทดลองแบบกลุ่ม เรื่อง "นักประดิฐษ์รุ้ง"



นักประดิษฐ์รุ้ง
อุปกรณ์การประดิษฐ์รุ้ง
-ลวด
-น้ำยาเคลือบเล็บ
-อ่างน้ำ
ขั้นตอนการทดลอง
1.ดัดลวดให้เป็นรูปทรงตามต้องการ และทำที่จับให้ถนัดมือ
2.หาอ่างขนาดพอสมควร ใส่น้ำสะอาด

3.หยดน้ำยาเคลือบเล็บลงไปบนผิวหน้าน้ำ 1 หยด ในขณะที่น้ำยาฯ กำลังแห้ง สารทำละลายจะระเหยออกจากน้ำยาฯ อย่างรวดเร็ว ทำให้ความหนาของฟิล์มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สีรุ้งที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่นกัน จนกระทั่งหยุดการเปลี่ยนแปลงเมื่อสารทำละลายระเหยจนหมด และฟิล์มแห้งดีแล้ว

4.ใช้ลวดที่ดัด ตักฟิล์มขึ้นมาจากผิวน้ำ ฟิล์มจะติดอยู่กับลวดเพราะความเหนียว
เวลาตัก ให้ค่อยๆ ตักช้าๆ เพราะฟิล์มจะบางและขาดได้ง่ายมาก

5.ถ้าตักแล้วขาด ก็ดึงฟิล์มทิ้งไป ทำความสะอาดผิวหน้าน้ำ (หรือจะเปลี่ยนน้ำก็ได้) แล้วเริ่มต้นใหม่ครับ



เมื่อช้อนฟิล์มได้แล้ว ให้งอด้ามจับตรงปลาย แล้วไปแขวนห้อยไว้กับเชือก เพื่อให้แห้ง แล้วนำมาชื่นชมทีหลัง (หรือจะชื่นชมทันทีก็ได้)


ฟิล์มที่เกิดขึ้น จะมีความบางมาก และขาดได้ง่าย น้องๆ บางคน อาจทดลองตักหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ได้ฟิล์มที่หนาขึ้น แต่ก็จะทำให้สีสันที่ได้ลดลงไปด้วย เนื่องจากฟิล์มที่หนาเกินไปไม่สามารถหักเหและสะท้อนแสง ได้เหมือนกับฟิล์มบางๆ




แนวคิด
สีรุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไรบนแผ่นฟิล์มบางๆ?  สีรุ้งที่เราเห็นจากฟิล์มบางๆ เช่น น้ำมัน หรือ ฟองสบู่ เป็นผลของ การแทรกสอดแบบเสริม และ การแทรกสอดแบบหักล้าง ของแสงสะท้อนจากผิวด้านบนของน้ำมัน กับแสงที่สะท้อนจากผิวด้านล่างของน้ำมัน เนื่องจากฟิล์มของน้ำมัน มีความหนาไม่เท่ากัน ผลการสะท้อนจึงต่างกันด้วย ส่งผลให้สีที่ได้จากการแทรกสอดต่างกัน
การที่ฟิล์มจะให้สีรุ้งสวยงามออกมาได้นั้น แสดงว่าฟิล์มนั้นๆ มีความหนาใกล้เคียงกับความยาวคลื่นของแสง ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดในฟิล์มบาง

สมาชิกในกลุ่ม
-นางสาวศศิธร แสงเภา
-นางสาวดาราวรรณ  น้อมกลาง
-นางสาวนพมาศ  คำมั่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น